การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง

การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง

ที่มาของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง
วิธีการ/กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เพลง

              เจียรนัย พงษ์ศิวาภัย (2539 : 52) ได้เสนอแนะให้ผู้สอนว่าควรใช้เพลงเป็นเครื่องมือเพิ่มพูนประสบการณ์ โดยจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
                1. เล่าเรื่อง หรือเล่าเรื่องที่สร้างขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับเพลง
                2. เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเพลง
                3. ดัดแปลงเนื้อหาเป็นบทสนทนาสั้นๆ
                4. นำแบบประโยคในเพลง หรือนำประโยคดีๆ มาเป็นการฝึกโครงสร้างทางไวยากรณ์
                5. หาคำใหม่มาแทนในเพลง หรือนำประโยคดีๆ มาเป็นการฝึกโครงสร้างทางไวยากรณ์
                6. แสดงท่าทางประกอบจังหวะ
                7. สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อเพลงเหมือนกับ ถาม-ตอบ ในการอ่านเพื่อความเข้าใจ
                8. เขียนเนื้อเพลงลงสมุด

              ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน มีดังนี้ (วราภรณ์ วราธิพร.2543:21)
                1. ทบทวนหรือแนะนำโครงสร้างไวยากรณ์ที่ปรากฏอยู่ในเพลง หรืออธิบายเนื้อหาของเพลงโดยใช้ทัศนอุปกรณ์ (visual Aids) หรือแสดงท่าทาง (action) และคำที่พ้องรูปหรือพ้องเสียงตลอดจนคำที่สัมผัสกัน
                2. เปิดเพลง 1 รอบครั้งแรก เพื่อให้นักเรียนคุ้นเคย
                3. ก่อนจะเปิดโอกาสให้นักเรียนเห็นเนื้อเพลงทั้งหมด ควรนำเสนอเพลงทีละบรรทัด ร้องแต่ละบรรทัดและให้นักเรียนร้องตาม ควรบันทึกเพลงทิ้งช่วงแต่ละบรรทัด
                4. แจกเนื้อเพลงให้กับนักเรียน เปิดเพลงอีกครั้งตั้งแต่ต้น ในช่วงแรกให้นักเรียนอ่านเนื้อเพลงตาม เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับจังหวะ ทำนอง จากนั้นเปิดเพลงหลายๆครั้ง และชักชวนให้นักเรียนร้องเพลงด้วย
                5. หลังจากที่นักเรียนสามารถจับทำนองเนื้อร้องได้แล้ว นักเรียนก็สามารถร้องไปกับดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้องหรือคาราโอเกะได้ ในช่วงแรกนักเรียนควรร้องเป็นกลุ่ม เมื่อมีความมั่นใจมากขึ้น จึงให้ร้องเป็นคู่หรือร้องเดี่ยว การใช้ดนตรีไม่มีเนื้อร้องหรือคาราโอเกะนั้นสามารถนำมาใช้ได้อย่างหลากหลาย เช่น ให้นักเรียนแต่งเนื้อร้องเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
                6. นำเนื้อร้องมาสร้างกิจกรรม เปิดโอกาสให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับเพลง

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์(2553).80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพมหานคร

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้


แผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การชั่งและการตวง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง การชั่ง
เวลา 5 ชั่วโมง


สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด

การชั่ง อาจใช้เครื่องชั่งที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐานหาน้ำหนักของสิ่งของได้ โดยการเปรียบเทียบน้ำหนัก ให้นำจำนวนหน่วยน้ำหนักที่ชั่งได้มาเปรียบเทียบกัน


ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด
    2.1
  ป.1/1  บอกความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และความจุ โดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน             
   6.1  ป.1-3/1 – ป.1-3/6                  
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ชั่งหาน้ำหนักของสิ่งของโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐานได้
2. เปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของที่กำหนดให้ได้


สาระการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. การเปรียบเทียบน้ำหนัก (หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน)
2. การชั่งโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน


สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการคิด

 - ทักษะการคิดวิเคราะห์
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต


คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน


กิจกรรมการเรียนรู้

(วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ)
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 8
ชั่วโมงที่ 1-2
1. ครูสาธิตการชั่งสิ่งของโดยใช้เครื่องชั่งสองแขน เริ่มจากวางสิ่งของลงที่ปลายแขนของเครื่องชั่งทั้งสองข้าง ให้นักเรียนช่วยกันสังเกตว่า แขนของเครื่องชั่งข้างที่สิ่งของมีน้ำหนักมากกว่าจะอยู่ต่ำกว่าข้างที่สิ่งของมีน้ำหนักเบา ถ้าแขนของเครื่องชั่งทั้งสองข้างเสมอกัน แสดงว่าสิ่งของสองสิ่งนั้นมีน้ำหนักเท่ากัน
2. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ทดลองชั่งน้ำหนักโดยใช้หน่วยกลาง ให้นักเรียนเลือกสิ่งของที่นำมาใช้เป็นหน่วยกลางหลายๆ อย่าง โดยครูบอกถึงสมบัติของหน่วยกลาง คือ จะต้องมีขนาดเล็กพอสมควร และมีน้ำหนักเท่ากันทุกชิ้น เช่น ฝาน้ำอัดลม ยางลบ ที่ยังไม่ได้ใช้ ลูกแก้ว เหรียญสิบบาท เป็นต้น โดยปฏิบัติตามที่ครูสาธิตให้ดู จากนั้นบันทึกผลการทดลอง แล้วส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการทดลองหน้าชั้นเรียน
3. ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้ เรื่อง การชั่งน้ำหนัก เพิ่มเติม จากหนังสือเรียน
4. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม เรื่อง การชั่งน้ำหนัก ข้อ 1-2 จากหนังสือแบบฝึกหัด เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม
5. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเปรียบเทียบน้ำหนักโดยใช้เครื่องชั่งสองแขน เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

ชั่วโมงที่ 3
1. ครูทบทวนการชั่งโดยใช้เครื่องชั่งสองแขน
2. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ชั่งสิ่งของที่กำหนดให้โดยใช้เครื่องชั่งสองแขน และมีฝาขวดน้ำอัดลมเป็นหน่วยกลาง แล้วบันทึกน้ำหนักที่ชั่งได้ลงในใบงานที่ 1.2 เรื่อง การชั่งน้ำหนักโดยใช้เครื่องชั่งที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
3. ให้ตัวแทนกลุ่มออกมารายงานผลการชั่งหน้าชั้น และเปิดโอกาสให้เพื่อนกลุ่มอื่นได้ซักถาม
4. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม เรื่อง การชั่งน้ำหนัก ข้อ 3 จากหนังสือแบบฝึกหัด เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกิจกรรม

ชั่วโมงที่ 4-5
1. ครูติดเนื้อเพลง ไม้หก บนกระดาน แล้วร้องนำให้นักเรียนร้องตาม
                                                                 เพลง ไม้หก
                                   ไม้หกกระดกขึ้นลง                            น้ำหนักเที่ยงตรงมั่นคงดีครัน
                    ผลัดกันขึ้น  ผลัดกันลง                                      นั่งตัวให้ตรง  ขึ้นลงสลับกัน
                    โจ๊ะทิง ติงทั่ง ทั่งทิง (ซ้ำ)
                                     เล่นไม้หกกระดกลง                         น้ำหนักข้างลงนั้นต้องหนักกว่า
                    ข้างที่ลอยจะหนักน้อยกว่า                                 หากเสมอกันหนาสองข้างหนักเท่ากัน
                    โจ๊ะทิง ติงทั่ง ทั่งทิง (ซ้ำ)
2. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบน้ำหนักจากเนื้อเพลง โดยเปรียบเทียบให้  ไม้หกเสมือนเครื่องชั่งสองแขนหรือคานชั่ง ถ้าวางสิ่งของลงที่ปลายแขนเครื่องชั่งทั้งสองข้าง ให้นักเรียนช่วยกันสังเกต จะเห็นว่าแขนเครื่องชั่งข้างที่หนักกว่าจะอยู่ต่ำกว่าข้างที่เบากว่า ถ้าสองแขนของเครื่องชั่งเสมอกัน แสดงว่า สิ่งของสองสิ่งนั้นหนักเท่ากัน
3. ครูให้นักเรียนฝึกคาดคะเนเปรียบเทียบน้ำหนัก โดยการสังเกตด้วยสายตาว่า สิ่งของชิ้นใดหนักกว่า หรือสิ่งของชิ้นใดเบากว่า ซึ่งมีหลักคาดคะเนคือ หากสิ่งของเป็นชนิดเดียวกันและมีขนาดเท่ากัน น้ำหนักย่อมเท่ากัน แต่ถ้าเป็นสิ่งของชนิดเดียวกันแต่มีขนาดต่างกัน สิ่งของที่มีขนาดใหญ่ย่อมหนักกว่าสิ่งของที่มีขนาดเล็ก แล้วให้นักเรียนทดลองชั่งน้ำหนักหลังจากการคาดคะเน เพื่อดูว่าการคาดคะเนถูกต้องหรือไม่ โดยให้ทดลองกับสิ่งของหลายๆ อย่าง เท่าที่จะหาได้ภายในห้องเรียน
4. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง การเปรียบเทียบน้ำหนัก เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยใบงาน
5. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม เรื่อง การชั่งน้ำหนัก ข้อ 4-5 จากหนังสือแบบฝึกหัด เป็นการบ้านแล้วนำมาส่งครูในการเรียนครั้งต่อไป
6. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน แล้วให้นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ 8.1 เรื่อง การชั่ง โดยเลือกผลไม้มา 3 ชนิด ชนิดละ 1 ผล จากนั้นชั่งหาน้ำหนักของผลไม้แต่ละชนิด โดยกำหนดหน่วยกลางเอง แล้วนำน้ำหนักที่ชั่งได้มาเปรียบเทียบกัน


การวัดผลและประเมินผล


วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
 ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
 แบบทดสอบก่อนเรียน
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.1
 ใบงานที่ 1.1
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.2
 ใบงานที่ 1.2
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 1.3
 ใบงานที่ 1.3
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ 8.1 เรื่อง การชั่ง
 แบบประเมินชิ้นงาน/ภาระงานที่ 8.1 เรื่อง
การชั่ง
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
 สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
 สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์


สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน คณิตศาสตร์ ป.1
2. แบบฝึกหัด คณิตศาสตร์ ป.1
3. เครื่องชั่ง
4. ใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเปรียบเทียบน้ำหนักโดยใช้เครื่องชั่งสองแขน
5. ใบงานที่ 1.2 เรื่อง การชั่งน้ำหนักโดยใช้เครื่องชั่งที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
6. ใบงานที่ 1.3 เรื่อง การเปรียบเทียบน้ำหนัก


http://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=61

ที่มา
ทรูปลูกปัญญา.(2553).http://www.trueplookpanya.com/true/lesson_plan_detail.php?lesson_plan_id=61.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย(Gagne's eclecticism)

สื่อและนวัตกรรม

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)